Blog RSS



แบตเตอรี่รถยนต์ ควรใช้แบบแห้งหรือแบบน้ำ ดีกว่ากัน??

ถ้าพูดถึง แบตเตอรี่รถยนต์  ก็คงเปรียบเหมือนหัวใจของรถยนต์ เพราะ แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ส่งจ่ายไปตามเครื่องยนต์และอุปกรณ์เสริมในรถที่ใช้ไฟทุกประเภท เพราะพลังงานจากแบตเตอรี่ทำให้เครื่องยนต์ของเราสตาร์ทติดได้ และยังป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในรถอีกด้วย เช่น ระบบปรับอากาศ ไฟเลี้ยว ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟหน้า กระจกไฟฟ้า วิทยุเครื่องเสียงภายในรถที่เราฟังกันทุกวัน และรวมไปถึงไฟภายในห้องโดยสาร เป็นต้น ดังนั้น แบตเตอรี่รถยนต์ จึงมีความสำคัญต่อรถยนต์มาก  รู้หรือไม่ว่า แบตเตอรี่รถยนต์ แบบไหนเป็นชนิดแห้ง แบบไหนเป็นชนิดน้ำ แล้วทั้ง 2 ชนิดมันแตกต่างกันอย่างไร หาคำตอบกันครับ แบตเตอรี่ชนิดน้ำเป็นแบตเตอรี่ที่รถยนต์ส่วนใหญ่นิยมใช้ เหมาะสำหรับประเทศเมืองร้อน แบตเตอรี่ชนิดน้ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยต้องเดือนละครั้ง และอีกชนิดหนึ่งคือ กึ่งแห้ง MF (Maintenance Free) ที่ไม่ต้องดูแลบ่อย สัก 6 เดือน ถึง 1 ปีก็มาดูสักรอบ ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการสูญเสียน้ำกลั่นน้อยมาก (ขึ้นอยู่กับการใช้งาน) โดยทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีฝาปิด-ปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น เพื่อไม่ให้ แบตเตอรี่รถยนต์ เสื่อมสภาพเร็วเกินไป ทนความร้อนได้ดี ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดน้ำจะเหมาะกับรถที่ต้องวิ่งนานๆ ใช้งานเยอะและเป็นประจำ แต่ที่สำคัญราคาถูกกว่าแบตเตอรี่แห้ง และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุดประมาณ 1.5 – 2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และการดูแลสม่ำเสมอ แต่ถ้าเมื่อไหร่เกิดหมดอายุการใช้งานก็ควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้เลย แบตเตอรี่แบบแห้งSMF (Sealed Maintenance Free Car Battery) เป็น แบตเตอรี่รถยนต์ ที่พัฒนาเพื่อไม่ต้องเติมน้ำกลั่น แต่แบตเตอรี่แบบแห้ง ไม่ได้แห้งอย่างที่เราคิดกัน เพราะข้างในจะมีของเหลวปนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแบบตะกั่ว-กรดที่ใช้แคดเมี่ยมและตะกั่วในแผ่นเซลล์หรือพวกที่ใช้สารละลายอัลคาไลน์หรือที่รู้จักกันในชื่อนิเกิล-แคทเมี่ยมนั่นเอง ซึ่งแบตเตอรี่แบบแห้งจะแตกต่างจากเมืองนอก เพราะเมืองนอกจะใช้เจลหรือซิลิโคนแทนน้ำกรดที่บ้านเราใช้กันที่บรรจุอยู่ใน แบตเตอรี่รถยนต์ ด้วยเหตุผลทางสภาพอากาศบ้านเราร้อนระอุเลยถูกซีลปิดได้ที่ไม่สามารถเติมน้ำกลั่นได้ จะไม่มีฝาเปิด-ปิดหรือไม่ถูกซีลกับฝาที่ติดกัน แต่จะมีแค่ตาแมวสำหรับไว้ตรวจเช็คระดับของน้ำกรด และระดับไฟ ใช้ง่ายโดยไม่ต้องดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยนต์ กันมากมาย ทนทาน แต่มีราคาแพง อายุการใช้งานยาวนานกว่าแบตเตอรี่น้ำ แต่ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของแต่ละยี่ห้อ ข้อดีของแบตเตอรี่ชนิดน้ำ มีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่ชนิดแห้ง มีความทนทานมากกว่า ข้อเสียของแบตเตอรี่ชนิดน้ำ เนื่องจากสารละลายภายในมีส่วนผสมของกรด ถ้าหากเกิดการรั่วหรือหกขึ้นมาละก็..อาจทำลายสีรถของรถได้ ต้องคอยเช็คและดูแลการประจุและต้องเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอ เนื่องจากจะมีการระเหยหรือมีโอกาสที่จะรั่วหรือหกได้ ข้อดีของแบตเตอรี่ชนิดแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะลืม สะดวกต่อการใช้งาน เพราะไม่ต้องเช็คระดับน้ำกลั่น สามารถปล่อยแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในสภาพที่ไม่มีไฟประจุได้นานกว่าแบตเตอรี่ประเภทเติมน้ำกลั่น โอกาสที่กฏิกิริยาทางเคมีภายในจะทำให้เกิดแก๊สมีน้อย คือถ้าหากเกิดแก๊สน้อยความเสี่ยงจากแก๊สก็จะน้อยไปในตัว ข้อเสียของแบตเตอรี่แห้ง มีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น มีระบบปิดที่มีรูระบายแบบทางเดียว และมีขนาดเล็ก จึงมีโอกาสอุดตันได้ง่าย ซึ่งถ้าเกิดอุดตันแล้วก็อาจเกิดปัญหาแรงดันภายในหรือความร้อนมาก ถ้าหากเป็นแบบที่ปิดผนึกซีลไม่ใช้อีเล็กโตรไลท์ หากซีลของช่องหายใจหลุด อาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เนื่องจากมีความชื้นเข้าไปภายใน ไม่ว่าเรา จะเลือกใช้ แบตเตอรี่รถยนต์ ประเภทไหนก็ตาม ก็ควรที่จะดูแลรักษาและหมั่นตรวจเช็คดูสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ยึดอายุการใช้งาน แต่สำหรับลูกค้าท่านไหนที่กำลังมองหาแบตเตอรี่รถยนต์ ควรที่จะเลือกใช้ แบตเตอรี่รถยนต์ ที่เหมาะกับรถยนต์และความสะดวกในการดูแลของตัวเองจะดีกว่า แบตเสียเมื่อไร โทรหาเรา....... 081-666-6610 สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง ✔FB Page: theflashpower...

Continue reading



แบตเตอรี่รถยนต์ ประเภทใดที่เหมาะกับรถคุณ

             แบตเตอรี่รถยนต์ ถือว่าอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยเก็บไฟฟ้าของรถยนต์ เพื่อไว้ใช้เลี้ยงอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในรถ หากใครเคยประสบปัญหารถสตาร์ทไม่ติดคงรู้ว่า เสียเวลา และชวนหงุดหงิดสักแค่ไหน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเหล่านี้ เราจึงควรตรวจเช็คและเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์เมื่อครบอายุการใช้งาน ทางเดอะแฟลชพาวเวอร์ จึงรวบรวมความรู้ของประเภทแบตเตอรี่รถยนต์มาฝาก เลือกขนาดแอมแปร์            แบตเตอรี่รถยนต์ต้องเลือกแอมแปร์ให้พอดีหรือมากกว่านิดหน่อย แบตเตอรี่ที่มีขนาดแอมแปร์มากกว่า จะใช้งานได้ทนทานกว่าแบตเตอรี่ที่มีขนาดแอมแปร์น้อยกว่า (แต่แอมป์ยิ่งมากราคายิ่งสูง) ดังนี้            > รถเก๋ง ญี่ปุ่น เครื่อง 1200-1900 ซีซี อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 45-60 แอมป์            > รถเก๋ง ญี่ปุ่น เครื่อง 2000-3000 ซีซี อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 60-75 แอมป์            > รถเก๋ง ยุโรป เครื่อง 2000-3000 ซีซี อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด  75 แอมป์ ขั้วจม            > รถเก๋ง ยุโรป เครื่อง 2800-4000 ซีซี  อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 100 แอมป์ ขั้วจม            > รถกระบะ เครื่อง 2000-3000 ซีซี อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 70-90 แอมป์   เลือกประเภทของแบตเตอรี่            แบตเตอรี่รถยนต์ปัจจุบันนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. แบตเตอรี่เปียก (กรดตะกั่ว)            เหมาะกับผู้ที่ดูแลรักษารถเป็นประจำและใช้รถเป็นประจำทุกวัน เพราะต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยอย่างน้อยก็ควรเดือนละครั้งรักษาปริมาณน้ำกลั่นให้เหมาะสม            ลักษณะเด่น - มีราคาถูก, มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุดถ้าดูแลอย่างสม่ำเสมอ   2. แบตเตอรี่กึ่งแห้ง MF (maintenance free)            พัฒนามาจากแบตเตอรี่ชนิดเติมน้ำกลั่น ถูกออกแบบมาให้มีการสูญเสียน้ำกลั่นน้อยมาก (ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ด้วยการคิดสูตรผสมแผ่นธาตุใหม่ผสมแคลเซียม (calcium) ทำให้การระเหยของไอกรดต่ำ ต้องเติมน้ำกลั่นบ้างตรวจเช็กอย่างน้อยครึ่งปีครั้ง            ลักษณะเด่น - มีราคาปานกลาง, อายุการใช้งานปานกลาง 3. แบตเตอรี่แบบแห้ง SMF (Sealed Maintenance Free Car Battery)            แบตแห้งของเมืองนอกจะใช้เจลหรือซิลิโคนแทนน้ำกรดแต่แบตเตอรี่แห้งที่ผลิตใช้ในบ้านเรายังใช้น้ำกรดบรรจุอยู่ในแบตเตอรี่ ด้วยเหตุผลทางภูมิอากาศของบ้านเราที่ค่อนข้างร้อนแต่ก็จะถูกซีลปิดไว้ไม่สามารถเติมน้ำกลั่นได้ ใช้ง่ายไม่ต้องดูแลรักษาแบตเตอรี่เลยเหมาะกับรถที่ไม่ได้ขับบ่อย            ลักษณะเด่น - มีราคาแพงสุด, อายุการใช้ต่ำสุด, ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น   แบตเสียเมื่อไร โทรหาเรา....... 081-666-6610 สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง ✔FB Page: theflashpower ✔Line :...

Continue reading



รถสตาร์ตไม่ติด เกิดจากสาเหตุอะไร the flash power มีคำตอบ

รถสตาร์ตไม่ติด สตาร์ตไม่ได้ ไม่มีเสียงตอบรับ เกิดจากอะไร เหตุการณ์แบบนี้หลายคนอาจเคยเจอมากับตัวเอง ยิ่งรถสตาร์ตไม่ติดในเวลารีบเร่งด้วยแล้ว มันน่าหงุดหงิดใจเป็นที่สุด วันนี้เรามีวิธีเช็กสาเหตุหลักที่มักพบบ่อยว่าเกิดจากอะไรจะได้เตรียมใจและรับมือได้ถูก           สำหรับปัญหาหรืออาการถยนต์สตาร์ตไม่ติดที่พบบ่อย มาจาก 4 สาเหตุหลักที่ผ่านใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง คือ 1.แบตเตอรี่เสื่อม 2.ไดชาร์จเสื่อม 3.มอเตอร์สตาร์ตเสื่อม 4.ระบบไฟฟ้าในรถมีปัญหา และครั้งนี้เดอะ แฟลช พาวเวอร์ ขอนำเสนอวิธีการตรวจเช็กว่ามาจากสาเหตุใดกันแน่ 1. รถสตาร์ตไม่ติดเพราะแบตเตอรี่หมดหรือเสื่อมสภาพ           หากบิดหรือกดปุ่มสตาร์ตแล้วทุกอย่างเงียบสนิท หรือไม่มีแรงพอที่จะสตาร์ตเครื่องยนต์ ระบบไฟต่าง ๆ อ่อน ปัญหามักเกิดจากแบตเตอรี่ไม่มีไฟ หรือเสื่อมสภาพไม่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้นาน อาการเสื่อมก็มีหลายระดับ ถ้าแบตเตอรี่เสื่อมมาก จอดรถทิ้งไว้แค่ 2-3 ชม. ก็อาจสตาร์ตรถไม่ติดเลย           สัญญาณเตือนอาการแบตเสื่อมเบื้องต้นคือ รถเริ่มสตาร์ตยาก มีเสียงแชะ ๆ ลากยาวกว่าจะสตาร์ตติดหลังการจอดรถทิ้งไว้ การแก้ปัญหาเบื้องต้นคือพ่วงแบตเตอรี่กับรถคันอื่น 2. รถสตาร์ตไม่ติดเพราะไดชาร์จเสื่อม           อาการคล้ายกับแบตเตอรี่เสื่อม เพราะเพราะหน้าที่ของไดชาร์จคือปั่นกระแสไฟเลี้ยงรถยนต์และชาร์จเก็บเข้าแบตเตอรี่ เมื่อไดร์ชาร์จเสื่อมจะไม่สามารถชาร์จไฟให้เพียงพอต่อการใช้งานได้ ไฟในแบตเตอรี่ก็จะถูกดึงมาใช้จนหมดในที่สุด ซึ่งอาการที่เกิดจากไดร์ชาร์จเสื่อมมีจุดสังเกตได้ เช่น รถดับเองขณะรอบต่ำ หรือวิ่ง ๆ อยู่รถดับกลางอากาศ           แต่ถ้าไดชาร์จเสื่อมไม่มาก ยังพอจะชาร์จไฟได้บ้าง (ปกติแรงดันไฟควรอยู่ที่ 13 โวลต์ หากต่ำกว่านี้ แสดงว่าไดร์ชาร์จเสื่อม) หากจอดทิ้งไว้อาจสตาร์ตรถไม่ติดได้เช่นกัน กรณีนี้แก้ปัญหาเบื้องต้นจะเหมือนกับแบตเตอรี่เสื่อม           นอกจากนี้การหมั่นตรวจสอบแบตเตอรี่อาจแจ้งอาการน่าสงสัยของไดชาร์จได้ หากตาแมวบอกว่ากำลังไฟอ่อน ถ้าแบตเตอรี่ไม่เสื่อม ไฟไม่รั่วลงกราวนด์ ก็อาจหมายถึงไดร์ชาร์จเริ่มเสื่อมสภาพ รถสตาร์ทไม่ติดเพราะไดร์สตาร์ตเสื่อม           หากสตาร์ตรถไม่ติดเลย แบตเตอรี่ยังใหม่ ไฟไม่หมด หรือลองพ่วงแบตเตอรี่ นำแบตเตอรี่ลูกใหม่มาเปลี่ยนก็ไม่ติด สตาร์ตแล้วยังมีเสียงแชะ ๆ (หรือเงียบสนิทก็ได้) มอเตอร์สตาร์ตอาจมีปัญหา งานนี้ต้องพึ่งรถสไลด์ หรือบริการซ่อมนอกสถานที่ 4. รถสตาร์ตไม่ติด เพราะระบบไฟฟ้าหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์มีปัญหา             ในรถยนต์รุ่นใหม่มักจะมีระบบไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น แม้จะเกิดขึ้นได้ยากแต่ถ้ารวนมักตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูง (หากเป็นปัญหาที่อุปกรณ์ เช่น กล่องสมองกล) แต่อาการง่าย ๆ ที่มีโอกาสเกิดได้ก็มีอย่างจอดรถทิ้งไว้นานหนูเข้ามากัดสายไฟ การล็อกการทำงานของตัวระบบเองเมื่อมีบางอย่างผิดปกติ (เพื่อลดความเสียหาย) เป็นต้น           การตรวจเช็กเบื้องต้น หากไฟหรือข้อความบนหน้าปัดโชว์ความผิดปกติ ลองพ่วงแบตเตอรี่แล้วไม่สามารถสตาร์ตรถได้ ไม่มีการตอบสนองอะไรเลยเช่นเดิม คงต้องเรียกรถสไลด์เข้าศูนย์หรืออู่ซ่อม           ทั้งนี้กรณีรถสตาร์ตไม่ติด อาจจะปัญหาพร้อมกันมากกว่าหนึ่งกรณี เช่น แบตเตอรี่และไดชาร์จมีปัญหา (Over Charge) ส่งผลให้กล่องควบคุมเสีย มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น เมื่อเกิดปัญหาแล้วจำเป็นต้องตรวจเช็กให้ครบถ้วน และทางที่ดีควรหมั่นสังเกตความผิดปกติหรืออาการของรถสม่ำเสมอ...

Continue reading



ล้างแอร์รถยนต์แบบถอดตู้ vs ไม่ถอดตู้ เลือกแบบไหนดี

   ตู้แอร์ในรถยนต์ก็เหมือนกับตู้แอร์หรือแผงแอร์ในบ้านของเรา เมื่อผ่านการใช้งานไปเป็นเวลานาน เจ้าบรรดาฝุ่นผงหรือสิ่งสกปรกต่างๆ ก็จะเข้าไปสะสมโดยพัดลมดูดเข้าไปเกาะตัวกีดขวางการไหลของอากาศเย็นที่ผ่านแผงคอยล์เย็น ทำให้ประสิทธิภาพความเย็นที่ออกมาในห้องโดยสารลดลง ยิ่งเจอกับอาการร้อนจัดแบบเมืองไทยด้วยแล้ว ลองคิดดูว่าการนั่งอยู่ในรถจะรู้สึกแย่ขนาดไหน ดังนั้น ถ้าไม่อยากพบเจอสถานการณ์แบบนี้ เราจึงควรให้ความสำคัญกับการล้างแอร์รถยนต์ให้มากกันซักหน่อย ดังนั้นหากมีเวลาก็ควรนำรถไปล้างตู้แอร์บ้าง ให้คำนึงไว้เลยว่าเป็นการบำรุงรักษาหนึ่งที่สำคัญ การล้างตู้แอร์จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน หลายคนอาจจะเคยเห็นและสงสัยว่า ตกลงว่าจะล้างแบบไหนดี เพราะเวลาเข้าไปถามช่าง ช่างคนนนี้ก็บอกว่าถอดตู้ดีกว่า ช่างอีกคนก็บอกว่าไม่ต้องถอดตู้สิดีกว่า แล้วตกลงจะล้างแบบไหนดี …ไม่ล้างเสียเลยแล้วกัน คำถามยอดฮิตว่า การล้างแอร์ภายในรถยนต์แบบไหนดี ระหว่างล้างแอร์แบบถอดตู้แอร์ กับไม่ถอดตู้แอร์ โดยแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ลองไปดูกันว่าแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง แล้วคุณจะตัดสินใจได้ว่า รถของคุณควรจะล้างแบบไหน การล้างตู้แอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้ หรือล้างแบบส่องกล้อง โดยทั่วไปแล้วการล้างตู้ แอร์รถยนต์ แบบไม่ถอดตู้จะกำหนดน้ำยาที่ต้องใช้เฉพาะสำหรับการล้างเท่านั้น และการล้างแบบนี้เหมาะกับรถใหม่ รถที่ล้าง แอร์รถยนต์ ปีละ1 ครั้ง หรือเหมาะกับรถที่ดูแลตู้ แอร์รถยนต์ เป็นประจำ ข้อดี คือ ไม่ต้องรื้อคอนโซล ทำความสะอาดง่ายกว่า ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบถอดตู้ แอร์รถยนต์ ใช้เวลาในการทำความสะอาดเร็วกว่าแบบถอดตู้ แอร์รถยนต์ ข้อเสีย คือ ถ้าหากตู้ แอร์รถยนต์ สกปรกมาก อาจจะล้างไม่สะอาดเท่าที่ควร *** หรือใช้วิธีในการฉีดสเปรย์เพื่อทำความสะอาดให้ทั่วคอยล์เย็น 2-3 เดือนต่อครั้ง ซึ่งคราบน้ำยาจะค่อยๆ ออกมาพร้อมกับน้ำยาแอร์ตามท่อน้ำทิ้ง   การล้างตู้แอร์รถยนต์แบบถอดตู้ ต้องรื้อตู้แอร์ แล้วเอาแผงคอยล์เย็นและแผงคอยล์ร้อนออกมาล้างสิ่งสกปรกตามซอกตามมุม ซึ่งการถอดตู้ แอร์รถยนต์ แบบนี้ ต้องแวคเติมน้ำยาแอร์ใหม่ และต้องเปลี่ยนไดเออร์กับวาล์วความดัน ถ้าไม่อยากเปลี่ยนท่อแอร์อาจรั่วได้ เพราะเกิดความชื้นเข้าไปอยู่ในระบบจากการถอดตู้ แอร์รถยนต์ ข้อดี ทำความสะอาดได้ทุกซอกทุกมุม และ แอร์รถยนต์ สะอาดกว่าไม่ถอดตู้ แอร์รถยนต์ สามารถตรวจสอบหรือเช็คสภาพของตู้ แอร์รถยนต์ ได้ สามารถประเมินอายุการใช้งานของ แอร์รถยนต์ ได้ ข้อเสีย ต้องยุ่งยากรื้อคอนโซล ใช้เวลาทำความสะอาดนาน มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบไม่ถอดตู้ แอร์รถยนต์ ถ้าเจอร้านใช้ผงซักฟอก โซดาไฟในการล้าง เมื่อเวลาประกอบกลับเข้าไป แล้วเปิดแอร์จะรู้สึกว่ามีกลิ่นผงซักฟอก แสดงว่ายังบ้างออกมาไม่หมด อาจกัดกร่อนคอยล์เย็นได้ และเมื่อเวลาสูบดูดเข้าไป จะส่งผลไม่ดีต่อระบบหายใจแน่นอน ตู้ แอร์รถยนต์ คุณควรหมั่นดูแลล้างตู้แอร์รถยนต์เป็นประจำ เพื่อไม่ให้คราบฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้ามาเกาะหรือสะสมเป็นจำนวนมาก สำหรับรถใหม่ ที่มีอายุการใช้งานไม่กี่ปี หรือเป็นรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมาหลายปี แต่ยังคงดูแลรักษาระบบแอร์รถยนต์เป็นประจำ แต่ต้องการอยากจะล้างตู้ แอร์รถยนต์ ควรล้างตู้แอร์แบบไม่ต้องถอดตู้ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้าหากตู้ แอร์รถยนต์ ไม่เคยล้างเลยเป็นระยะเวลานานๆ และมีความสกปรกมาก การถอดตู้ แอร์รถยนต์ ออกมาล้าง ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะจะเห็นได้ว่าการถอดตู้ แอร์รถยนต์ สามารถฉีดน้ำทำความสะอาดได้ทุกซอกทุกมุม และเห็นว่า แอร์รถยนต์ สะอาดจริงๆ แอร์ไม่เย็น แอร์รถยนต์เสียเมื่อไร โทรหาเรา....... 081-666-6610 สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง ✔FB Page: theflashpower ✔Line : @425mrgbx ✔Tel : 081-666-6610 ✔Website : https:/theflashpower.com #ร้านแบตเตอรี่ #เปลี่ยนแบตเตอรี่ #เปลี่ยนแบตนอกสถานที่ #แบตเตอรี่รถยนต์ #จำหน่ายแบตเตอรี่ #สาธุประดิษฐ์ #พระราม3 #ยานนาวา #สาทร #เปลี่ยนแบตสาธุ #ร้านไดนาโม #ล้างแอร์รถยนต์ #ซ่อมแอร์รถยนต์ #ประสบการณ์มากกว่า50ปี...

Continue reading



แบตเตอรี่รถยนต์ ยี่ห้อไหนดี | 7 แบรนด์ที่ดีที่สุดในไทย

จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองไทย และอัตราการเพิ่มขึ้นของรถนั่งส่วนบุคคล และรถประจำทาง เพื่อใช้ในการเดินทาง ทำให้มีการบริโภคแบตเตอรี่รถยนต์หรือใช้งานแบตเตอรี่รถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งบริษัทรายใหญ่ในเมืองไทยมีอยู่ 7 บริษัทใหญ่ ได้แก่ บมจ. ไทยสโตเรจ แบตเตอรี่ 3K (สามเค) บริษัท สยามยีเอสแบตเตอรี่ จำกัด GS (ยีเอส) บริษัท ฟูรูกาวาแบตเตอรี่ จำกัด FB (เอฟบี) บมจ.ยัวร์ซ่าแบตเตอรี่ (ประเทศไทย) YUASA (ยัวซ่า) บริษัท พานาโซนิค แบตเตอรี่ (ประเทศไทย) PANASONIC (พานาโซนิค) บริษัท สยามแบตเตอรี่ อินดัสตรี่ จำกัด BOLIDEN (โบลีเด้น) บริษัท เอ็ม เอฟ ออโต้ (ประเทศไทย) PUMA (พูม่า)   1. บริษัท ไทยสโตเรจ แบตเตอรี่ จำกัด (มหาชน) (Thai Storage Battery Public Company Limited ชื่อย่อ: BAT-3K) บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2529 เพื่อทำการผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า “3K” ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2537 จนถึงปัจจุบัน และได้ทำการจดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยรับการอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งบริษัทมีสัดส่วนการขายในประเทศ และ ส่งออก ในอัตราร้อยละ 60 : 40 บริษัทเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของไทย มีความสามารถในการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศโดยเป็นบริษัทที่ลงทุนโดยคนไทย และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเป็นของตนเอง การผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทยนั้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตแบตเตอรี่เพื่อใช้สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นแบตเตอรี่พื้นฐาน บริษัทได้มีการริเริ่มและพัฒนาจนสามารถผลิตและจำหน่าย แบตเตอรี่สำหรับรถยกไฟฟ้า (Traction Battery) แบตเตอรี่สำหรับรถกอล์ฟและแบตเตอรี่สำหรับแผงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ (Deep Cycle Battery) ได้ สินค้าของบริษัทฯมีคุณภาพและได้รับมาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้ ใบรับรองระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO14001:2004 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2547 ใบรับรองระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 ใบรับรองระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO / TS16949...

Continue reading